
Introduction and Rondo no. 2 Op. 2 Dionisio Aguado
19th Century

Dionisio Aguado(1784 – 1849) with his Guitar and Tripodion
แต่งโดย Dionisio Aguado นักกีตาร์คลาสสิกและนักแต่งเพลงชาวสเปนในช่วงปลายยุคคลาสสิกและยุคโรแมนติกตอนต้น เขาเป็นที่รู้จักจากงานคอนเสิร์ตและการสอนหนังสือ ตลอดจนหนังสือเรียนกีตาร์ เขาเลือกใช้บรรทัด5เส้นในการบรรทึกโน้ตแทนการใช้ Tablature(Tab) ที่เป็นที่นิยมสำหรับนักกีตาร์ในช่วงสมัยนั้น เพราะได้รับอิทธิพลมาจาก Federico Moretti นักกีตาร์ นักแต่งเพลง นักทฤษฎี ชาวอิตาลี เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมวงการของเขา Fernando Sor นักกีตาร์และนักแต่งเพลงชาวสเปน เขาได้คิดค้น Tripodion เป็นอุปกรณ์ที่ยึดกีตาร์ ทำให้สามารถเล่นกีตาร์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกีตาร์ในยุคนั้นมีขนาดเล็กกว่ากีตาร์ในปัจจุบัน
เพลง Introduction and Rondo ผลงานชิ้นเอกและเป็นหนึ่งในเพลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพลงหนึ่งของเขา

Romantic Guitar

ด้านซ้ายคือกีตาร์ในปัจจุบัน ด้านขวาคือกีตาร์ในยุคศตวรรษที่19
คำว่า Rondo หมายถึงโครงสร้างทางดนตรีชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 โดยพื้นฐานแล้ว Rondo เป็นโครงสร้างทางดนตรีที่มีธีมหลัก สลับด้วยธีมที่แตกต่างกันตั้งแต่หนึ่งธีมขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าตอน(Episodes) ทำนองธีมหลักทำนองแรกจะวนกลับมาอยู่ระหว่างแต่ละตอน เช่น ABACA, ABABA, ABACBA, หรือ ABACABA

“ธีมของ Rondo นี้มีความคล้ายคลึงกับเพลง 'Pathetique' Sonata, Op. 13 no. 8 ที่มีชื่อเสียงของเบโธเฟน เนื่องจากงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปีที่เบโธเฟนเสียชีวิต (1827) บางทีอาจมองว่าเป็น 'บรรณาการ' แก่เบโธเฟน แต่อย่างไรก็ตาม เพลงนี้ถูกแต่งให้กับ François de Fossa เพื่อนนักกีตาร์ชาวฝรั่งเศษ ของ Aguado”
เพลงนี้จะอยู่ในคีย์ A minor ท่อน Introduction เป็นเหมือนการ improvise ก่อนเข้าตัวเพลงซึ่งเป็นธรรมเนียมของยุคนั้น มีการเน้นย้ำให้ผู้ฟังได้ยินคีย์ของเพลงด้วยการย้ำคอร์ด A minor ที่เป็น tonic ต่อด้วยคอร์ด E major ที่เป็น dominant แล้ววนกลับมาเป็นคอร์ด A minor อีกเป็นการย้ำคีย์หลักของเพลงให้ผู้ฟังชินหู ท่อน rondo เพลงนี้มีรูปแบบ rondo ทั่วไป หรือ ABACA โดยที่ตอน A นำเสนอธีมหรือทำนองหลักมีแนวทำนองที่น่าจดจำ แต่ทุกครั้งที่ท่อน A วนกลับมาจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลนิดหน่อยทำให้เล่นยากขึ้นเรื่อยๆ ตอน B เป็นตอนที่ยาว พัฒนาเปลี่ยนจากตอน A และมีตอนย่อยที่หลากหลาย มีความแตกต่างกันออกไป มีการเปลี่ยนคีย์ไปเป็นคีย์ Dm ก่อนเปลี่ยนกลับเป็นคีย์ Am ตอน C เริ่มด้วยคีย์ C major ทำให้เสียงค่อนข้างแปลกจากเพื่อน มีการใช้ sixteenth note triplets เยอะกว่าตอนอื่นๆ โดยเพลงนี้จะข้อกำจัดที่เพลงจะต้องวนกลับมาในรูปแบบ rondo ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก ต้องวนกลับมาธีมอยู่เสมอ

เทคนิคที่ทำให้การเล่นเพลงนี้ยาก เป็นเพราะส่วนใหญ่ของเพลงจะวางรูปนิ้วเป็นรูปคอร์ดเสียส่วนใหญ่ เพราะถูกแต่งโดยนักกีตาร์เอง มีความต่างกับเพลงแรกในเรื่องของอารมรณ์เพลง ที่เริ่มมีโน้ตหลายจุดถูกเขียนกำกับความดังเบาเอาไว้ มีการใช้ Arpeggio scales และโน้ต sixteenth ที่เร็ว รัวติดๆกัน เทคนิคเหล่านี้จะแสดงทักษะของนักกีตาร์ ที่สำคัญคือเพลงนี้ถูกแต่งในยุคที่กีตาร์ยังมีขนาดเล็ก และช่องแคบกว่ากีตาร์ในปัจจุบัน
ตัวอย่างของโน้ตที่ถูกเขียนกำกับเรื่องของความดังเบา
มีการใช้ Arpeggio scales และโน้ต sixteenth ที่เร็ว รัวติดๆกัน

