
Sonata K. 239
Domenico Scarlatti
18th Century

Domenico Scarlatti (1685-1757)
เพลงนี้ถูกแต่งโดย Domenico Scarlatti นักแต่งเพลงชาวอิตาลี ที่แต่งเพลงหลากหลายแนว รวมทั้งโอเปร่า ออราทอรีโอ
และดนตรีศาสนา แต่เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดจากโซนาตา 555 บทสำหรับ harpsichord

Harpsichord
เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่สเปนตั้งแต่ปี 1729 จนกระทั่งเสียชีวิต ทำให้ได้รับอิทธิพลจากดนตรีท้องถิ่นของสเปน จนนำมาใช้ประกอบการแต่งเพลงในหลายบท ที่มาของชื่อเพลง ในศตวรรษที่ 18 คำว่า "Sonata"
หมายถึงเพลงที่ประพันธ์เพื่อเล่นด้วยเครื่องดนตรี ถ้าเป็นเพลงร้องจะเรียกว่า “Cantata”
ส่วน k.239 เป็นตัวย่อที่กำหนดขึ้นมาโดย Ralph Kirkpatrick นักดนตรีชาวอเมริกันที่ได้ศึกษาและจัดเรียงลำดับSonataของScarlatti ทั้ง 555 บทเอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ

Ralph Kirkpatrick playing his Dolmetsch-Chickering harpsichord, 1939. (Ralph Kirkpatrick Archives, Music Library, Yale University.)
Sonata k.239 นี้ก็เป็นหนึ่งในเพลงที่ได้รับอิทธิพลจากดนตรีท้องถิ่นของสเปน เพลงนี้แต่งบน Binary form คือเพลงที่มี 2 ส่วนแบ่งเป็น A B ทั้ง2ท่อนจะมีส่วนที่คล้ายกันซ้ำไปมาตลอดทั้งเพลง

Characterเพลงมีความเป็นเพลง Dance ในจังหวะ3/4 ราวกับเพลงเต้นรำท้องถิ่นของสเปนและเหมือนมีเสียงของspanish guitarประกอบอยู่ด้วย


Spanish Baroque dance
Spanish Baroque Guitar
ตัวอย่างเช่น รูปแบบการเล่นเป็นคอร์ด เพลงมีการเปลี่ยนคอร์ดสลับไปมาระหว่าง โทนิค-โดมิแนนต์ โดยมีการแทรกคอร์ดอื่นเป็นอรรถรสบ้างและไม่ได้กำกับเรื่องของความดังเบาตามธรรมเนียมของดนตรีในยุคนั้น และตามข้อกำจัดของ harpsichord ที่ไม่สามารถทำdynamicได้ จะมาก ได้แค่forteหรือpiano ทำให้เพลงมีความชัดเจน เรียบๆ ไม่ซับซ้อน มีการแปลงคีย์จากต้นฉบับที่เป็น F minor มาเป็น A minor เพื่อให้ทางนิ้วเหมาะกับการเล่นบนกีตาร์ และด้วยหลักการทำงานของharpsichord ที่เมื่อกดแป้นคีย์แล้วจะทำให้แท่งลิ่มไปเกี่ยวสายให้เกิดการสั่นสะเทือน คล้ายกับการดีดสายกีตาร์ ทำให้เสียงจะหายไปค่อนข้างเร็วหลังจากการเล่น ไม่ค่อยlegato ทำให้เพลงนี้มีcharacterที่เหมาะกับกีตาร์เป็นอย่างมาก

Triads arranged on the circle of thirds, labeled by harmonic functions.
เทคนิคของเพลงมีบรรไดเสียงไล่ขึ้น ไล่ลงไปมาอยู่เรื่อยๆ แทรกด้วยคอร์ดและคู่เสียง ทำให้ต้องมีการเตรียมนิ้วทั้งมือซ้ายและขวาให้ดี กำหนดนิ้วทั้งสองมือให้แน่ชัดว่าแต่ละโน้ตนิ้วไหนกด นิ้วไหนดีด เพราะทุกครั้งที่เล่นจะต้องเหมือนกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสัมพันธ์กัน อีกทั้งยังมีช่วงที่โน้ตอยู่ตำแหน่งที่ห่างกัน ทำให้นิ้วมือซ้ายกระโดดไปมา ต้องอาศัยการซ้อมจนแม่นยำ ที่ยากสุดคือเพลงถูกกำหนดมาให้เล่นในจังหวะที่เร็ว

โน้ตจากห้องที่ 1-3 แสดงถึง sequence และ character dance จังหวะ3/4

ห้องที่ 16-18 การเล่นแบบคอร์ด

4-11 บรรไดเสียงไล่ขึ้น ไล่ลง